วันจันทร์ที่ 13 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power)

วันนี้บังเอิญเจอเรื่องที่ตัวเองเขียนไว้เมื่อสองปีที่แล้ว ซึ่งช่วงนั้นยังไม่ค่อยมีใครรู้จักผมมากมายเหมือนตอนนี้บทความนี้พออ่านแล้วผมว่าก็ยังคงความเป็นเอกลักษณ์ของบล็อกผม (Projectlib & Libraryhub) อยู่นั่นแหละนั่นคือ เรื่อง การแบ่งปันความรู้คือพลังอันยิ่งใหญ่ (Sharing Knowledge is Power) นั่นเอง

อยากให้ชาวห้องสมุดและบรรณารักษ์อ่านกันมากๆ (อ่านแล้วนำไปปฏิบัติด้วยนะ) ไปอ่านกันเลยครับ
ในอดีตมีคนกล่าวไว้เกี่ยวกับความยิ่งใหญ่ของสิ่งต่างๆ เช่น
- man is power
- money is power
- technology is power
- data is power
- information is power
- knowledge is power

และ ยังมีอีกมากมายที่ยังไม่ได้กล่าวถึง
สิ่งต่างๆ ที่ผมได้กล่าวมานี้ ผมยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมันเช่นกัน
แต่ละยุค แต่ละสมัย สิ่งต่างๆ เหล่านี้เข้ามามีอิทธิพล รวมถึงบทบาทในการกำหนดความเป็นไปของมนุษย์
แต่เหนือสิ่งอื่นใด ผมเชื่อในความมีอำนาจ และความยิ่งใหญ่ของการ แบ่งปัน (Sharing)
การแบ่งปันที่ผมจะกล่าวนี้ ผมจะเน้นการแบ่งปันข้อมูล ความรู้ต่างๆ เช่น
- การแบ่งปันข้อมูล (Share data)
- การแบ่งปันข่าวสาร (Share news)
- การแบ่งปันสารสนเทศ (Share information)
- การแบ่งปันความรู้ (Share knowledge)
- การแบ่งปันความคิด (Share idea)
เพราะว่าในสมัยก่อนข้อมูล ความรู้ต่างๆ ถูกเก็บไว้ที่ตัวบุคคลมากเกินไป
จนเมื่อบุคคลๆ นั้นตายไปข้อมูลและความรู้ที่เก็บอยู่ก็สูญหายไปด้วย
ยกตัวอย่างอีกกรณีหนึ่งคือ การทำงานในสำนักงาน หรือหน่วยงานทั่วไป
บุคคลที่เชียวชาญในการทำงานต่างๆ ถ้าไม่ถูกถ่ายทอดความรู้ให้คนอื่นๆ เมื่อบุคคลผู้นั้นลาออก
ก็จะไม่มีใครที่เข้ามาทำงานแทนคนผู้นั้นได้ (ทำงานได้ แต่ความเชียวชาญและเทคนิคอาจจะต่างกัน)
ดังนั้นการแบ่งปัน หรือการถ่ายทอดความรู้ ผมจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญมากๆ
ยกตัวอย่างอีกกรณีก็แล้วกัน
หากเมืองๆ หนึ่งประกอบด้วยคนที่มีอำนาจต่างๆ ทั้งการเงิน เทคโนโลยี ข้อมูล ความรู้ แต่คนเหล่านั้นเก็บสิ่งต่างๆ เหล่านี้ไว้กับตัวเอง ไม่มีการแบ่งปันให้ผู้อื่นเมืองๆ นั้นก็อาจจะอยู่ได้ไม่นาน คือ พอคนเหล่านี้เสียชีวิตไปความรู้ หรือทรัพย์สินต่างๆ ก็สูญหายไป
และเทียบกับ
อีกเมืองหนึ่งซึ่งสร้างชุมชนแห่งการแบ่งปันซึ่งกันและกัน ความรู้ต่างๆ ถูกถ่ายทอดกันในสังคม ใครมีเทคนิคในการทำงานใหม่ๆ ก็ถ่ายทอดให้ผู้อื่นได้ลองใช้ด้วย ผมเชื่อว่าเมืองๆ นี้ถึงแม้ว่าคนเก่าแก่จะตายไป แต่เมืองนี้ยังคงมีความเจริญต่อไปอย่างแน่นอน เพราะทุกคนต่างแบ่งปันความรู้ ความคิดและเทคนิคในสิ่งต่างๆ
ย้อนกลับมาถามอีกข้อ เพื่อนๆ คิดว่าถ้าเกิดสงครามระหว่างเมืองที่ 1 กับเมืองที่ 2 เมืองไหนจะชนะ
หนทางในการแบ่งปันความรู้มีหลายวิธี เช่น
1. การสร้างวัฒนธรรมในองค์กรใหม่ ให้รู้จักการแบ่งปันความรู้ หรือพูดง่ายๆ คือ การสร้างองค์กรแห่งการเรียนรู้ (Learning Organization)
2. การนำหลักการของ การจัดการองค์ความรู้มาใช้ในองค์กร หรือที่เรามักจะเรียกกันว่า Knowledge management
3. การถ่ายทอดความรู้ หรือประสบการณ์ส่วนตัวด้วยเว็บไซต์ หรือบล็อก จริงๆ ก็คล้ายๆ กับสิ่งที่ผมทำอยู่นะ อิอิ
4. หัดรับฟังความคิดเห็นของคนในองค์กร เพื่อสร้างวัฒนธรรมในการคิดให้กับทุกๆ คน
5. ในแง่การศึกษาก็เช่นเดียวกัน ครู อาจารย์ควรรับฟังแง่คิดของเด็กๆ นักเรียน นักศึกษาบ้าง บ่อยให้เด็กๆ คิดอะไรก็ได้ ไม่ใช่ว่าจำกัดกรอบความคิดเพียงแค่ในตำราเรียน
เอาเป็นว่าอ่านแล้วก็เอามาคิดกันนะครับ และขอย้ำขั้นสุดท้ายว่าหากเราไม่รู้จักแบ่งปันความรู้ให้กับคนอื่น เราก็จะไม่ได้ความรู้หรือความคิดดีๆ จากคนอื่นๆ เช่นกัน ในฐานะบล็อกห้องสมุดและบรรณารักษ์ผมขอสนับสนุนการแบ่งปัน idea
ปล. การแบ่งปันความรู้ กับ การ copy เรื่องของคนอื่นไปโพสไม่เหมือนกันนะ? บางครั้งเอาไอเดียกันไปแล้วรู้จักการอ้างอิงมันจะดีมากๆ และถือว่าเป็นการให้กำลังใจผู้คิดไอเดียด้วยครับ

วันอังคารที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2557

นายห้องสมุดชวนฟัง : “น้องเอ๋ย” เพลงเพื่อวันนี้และวันพรุ่งนี้

นานแล้วที่ไม่ได้เขียนเรื่องส่วนตัวเลย ซึ่งปกติพอเขียนเรื่องอะไรที่เป็นส่วนตัวหน่อย เพื่อนๆ จะมองว่าเพราะช่วงนั้นผมคงเครียดอะไรสักอย่างแน่เลย วันนี้เลยขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ใช่ ไม่ได้มีเรื่องเครียดอะไรหรอกครับ
ประเด็นมันอยู่ที่ว่าผมชอบฟังเพลงของพี่บอย โกสิยพงษ์มากๆ เพราะเพลงแต่ละเพลงมีความหมายที่ดี
วันนี้เลยขอแนะนำเพลง “น้องเอ๋ย” ให้เพื่อนๆ ได้ฟัง
[youtube]http://www.youtube.com/watch?v=zNcKaf4XUiI[/youtube]
เนื้อเพลง เพลงนี้ สรุปง่ายๆ ว่า 
“เวลาที่เราเศร้าก็ขอให้เศร้าและปล่อยให้มันจบในวันนั้นเลย อย่าเอาความเศร้ามาคิดในวันนี้ หรือวันพรุ่งนี้ เพราะมันเป็นเรื่องที่ผ่านไปแล้ว ตอนนี้เราควรจะทำสิ่งใหม่ๆ จะดีกว่า”
ไปอ่านเนื้อเพลงกันดีกว่า เนื้อเพลง “น้องเอ๋ย”
น้ำตาที่ไหลหยดลงเปื้อนที่ข้างในไม่ว่านานสักเท่าไร
ไม่ยอมลบเลือนจากใจ ของเธอครั้งนั้น
วันคืนโหดร้ายที่ผ่านพ้นความวุ่นวาย ยังตอกย้ำในจิตใจ
ให้ส่วนลึกนั้นหวั่นไหว เมื่อคิดถึงทุกครั้ง
อย่ายอมให้อดีตกลับมาทำร้าย
อย่ายอมให้หัวใจไม่มีความหวัง
โอ้…น้องเอ๋ย อยากขอให้เธอช่วยฟัง
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เจ็บ
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เศร้า…เสียใจ
แล้วเธอนั้นยังจะยอมรึป่าว
หากวันนี้จะทำพรุ่งนี้ให้หมดความหมาย
วินาทีนี้ กำหนดวินาทีหน้า
ชั่วโมงที่เพิ่งผ่านมา
กำหนดชั่วโมงข้างหน้า เป็นอยู่อย่างนั้น
อย่ายอมให้อดีตกลับมาทำร้าย
อย่ายอมให้หัวใจไม่มีความหวัง
โอ้…เกลอ อยากขอให้เธอช่วยฟัง
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เจ็บ
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เศร้า…เสียใจ
แล้วเธอนั้นยังจะยอมรึป่าว
ถ้าวันนี้จะทำพรุ่งนี้ให้หมดความหมาย
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เจ็บ
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เศร้า…เสียใจ
แล้วเธอนั้นยังจะยอมรึป่าว
ถ้าวันนี้จะทำพรุ่งนี้ให้หมดความหมาย
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เจ็บ
หากว่าเมื่อวานทำวันนี้เศร้า…ร้องไห้
แล้วเธอนั้นยังจะยอมรึป่าว
ให้วันนี้กำหนดพรุ่งนี้ให้ต้องเสียใจ
เอาเป็นว่าก็ขอฝากเพลงนี้ไว้ให้ฟังและคิดอะไรต่อด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ขอขอบคุณวีดีโอจาก youtube และเนื้อเพลงจาก Siamzone

วันพฤหัสบดีที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ร้านหนังสือมีสไตล์ ณ หัวหิน Rhythm & Books

ไม่ได้พาเพื่อนๆ ไปเที่ยวนานแล้ว วันนี้เลยขอพาเที่ยวแบบชิวๆ ให้เพื่อนๆ ได้ติดตามแล้วกัน
วันนี้ผมขอพาเพื่อนๆ ไปเที่ยวมี่หัวหินนะครับ (ไม่ใกล้ไม่ไกลกรุงเทพฯ ด้วย) 
(จริงๆ แล้วที่ไปหัวหิน จุดประสงค์หลักคือถ่ายภาพสำหรับงานแต่งงานของผม (prewedding))
สายๆ ของวันอาทิตย์ก่อนกลับ กรุงเทพฯ ผมก็ออกมาหาของกินรองท้องสักหน่อย
ซึ่งก็เลยขับรถมาหาของกินบริเวณถนนแนบเคหาสน์ และก็จอดรถลงมากินก๋วยเตี๋ยวเนื้อที่แสนอร่อย
ในระหว่างที่กำลังกินอยู่ตาก็ชำเลืองไปเห็นร้านอยู่ร้านหนึ่งชื่อ “Rhythm & Books”
ก็รู้สึกได้ถึงกลิ่นไอความเป็นร้านหนังสือ (ตามสไตล์ของคนที่ชอบหนังสือ)
ดังนั้นเมื่อกินข้าวเสร็จ ผมก็ไม่รอช้าที่จะต้องแวะเข้าไปชมสักหน่อย
แต่ก่อนจะเข้าไปในร้านก็ขอหาข้อมูลนิดนึงจากอินเทอร์เน็ต
ในที่สุดก็พบว่า “ร้านหนังสือร้านนี้เป็นของนักเขียนชื่อดังคนนึงนั่นเอง”
คุณภาณุ มณีวัฒนกุล (พี่บาฟ)
เจ้าของร้านหนังสือร้านนี้ คือ พี่บาฟ หรือ “คุณภาณุ มณีวัฒนกุล”
นักเขียนนักเดินทาง “คนทำสารคดี” ที่เดินทางไปเกือบทั่วโลก
พอเข้าไปก็เจอกับพี่เขาเลย พี่เขาต้อนรับดีมากๆ เข้ามาพูดคุยแบบเป็นกันเองกับผม
ได้พูดคุยกันสักพักผมก็เลยได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องของวงการหนังสือ
และแง่คิดที่หนังสือมีให้ต่อผู้อ่าน
 เช่น การอ่านการ์ตูนก็สามารถแทรกแง่คิดให้ผู้อ่านได้ด้วย
ภายในร้าน Rhythm & Books มีขายอะไรบ้าง
- หนังสือมือสอง
- สมุดทำมือ
- ของฝากจากหัวหิน
- ภาพวาด
- เพลง
- ฯลฯ
นอกจากนี้ยังผู้ถึงความเป็นมาของร้านหนังสือร้านนี้และแรงจูงใจที่พี่บาฟมีต่อร้านนี้ด้วย
ซึ่งสิ่งๆ นั่น คือ “ความรักในหนังสือ” นั่นเอง กลับมาย้อนคิดผมเองก็คงคล้ายๆ กัน คือ “รักในห้องสมุด”
“ทำอะไรก็ได้ที่ใจรัก มันจะทำให้เรามีความสุข และไม่รู้จักเหนื่อยหน่ายกับมัน”
แม้ในวันนี้ร้านของพี่บาฟอาจจะยังไม่เป็นที่รู้จักมากแต่ ผมเชื่อครับว่าสักวันร้านของพี่บาฟจะต้องมีคนมาเยี่ยมชมมากขึ้น
พี่บาฟที่บอกผมอีกว่า จริงๆ แล้ว กำลังใจอีกอย่างที่พี่บาฟประทับใจ คือ การได้พูดคุยกับผู้ที่มาเยี่ยมชมร้านนั่นแหละ
ผมว่าถ้าบรรณารักษ์หลายๆ คนคิดแบบพี่บาฟ ผมว่าคงจะทำงานได้อย่างมีความสุขมากขึ้นนะครับ
เอาเป็นว่าวันนี้ก็ขอแนะนำร้านนี้ไว้เท่านี้แล้วกัน ใครที่ผ่านมาเที่ยวที่หัวหินก็อย่าลืมมาแวะที่นี่ด้วยนะครับ
สุดท้ายนี้ก็แอบประทับใจและสัญญาว่าเมื่อไหร่ก็ตามที่ผมมาหัวหิน ผมจะแวะมาที่ร้านหนังสือร้านนี้อีก
แล้วพบกันอีกนะครับ “Rhythm & Books” และยินดีที่ได้รู้จักอีกครั้งครับ พี่บาฟ
ที่อยู่ของ Rhythm & Books เลขที่4/56 ถนนแนบเคหาสน์ ต.หัวหิน อ.หัวหิน จ.ประจวบฯ 77110 หมายเลขโทรศัพท์ 0814729390
จุดสังเกตง่ายๆ คือ ร้านจะอยู่ในซอยที่เยื้องๆ กับร้านเค้ก บ้านใกล้วัง เข้าซอยมาจะเจอทาวน์เฮาส์หลังที่สาม
ชมภาพบรรยากาศภายในร้าน Rhythm & Books
[nggallery id=41]

วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

อยากนอนในห้องสมุดนักใช่มั้ย ไปนอนในโรงแรมห้องสมุดกันเถอะ

หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง
hotel Library
แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life
ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย
เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้
1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา - http://www.casapalopo.com/
Casa Palopo
2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย - http://www.thelibrary.co.th
The Library resort at Hat Chaweng.
3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ - http://www.gladstoneslibrary.org/
Gladstone's Library
4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา - http://www.kurahulanda.com/index.php
Sandton Kura Hulanda
5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย - http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx
The Royal Livingstone Hotel
6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา - http://www.longboatkeyclub.com/
Longboat Key Club
DSC_0504
8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู - http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/
JW Marriott Cusco
9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก - http://www.libraryhotel.com/
The Library Hotel
เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]
ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

นำเสนอสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ

นำเสนอข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ
โดย อาจารย์ ดร. กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
เมื่อเราได้สารสนเทศท้องถิ่นมาแล้ว เราก็ต้องรู้จักการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ
อาจารย์จึงได้นำเสนอกรณีศึกษาของ “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี” ซึ่งสรุปได้ดังนี้
เริ่มต้นจากการแนะนำตัวเองเช่นกัน และเล่าที่มาก่อนที่จะมาได้รับตำแหน่ง ผอ. ที่นี่
ซึ่งต้องผ่านกระบวนการของการสรรหาของ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี (ต้องแสดงวิสัยทัศน์)
งานหลักที่ดูแลอยู่ในตอนนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. งานบริหารด้านวิชาการ
2. งานบริการความรู้สู่ชุมชน
อาจารย์ชอบทำงานอยู่เป็นเบื้องหลัง ซึ่งงานระดับจังหวัดหลายๆ งานก็มักจะเข้ามาขอความร่วมมือจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวอย่างงานระดับจังหวัด เช่น งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) เป็นต้น
ข้อคิดของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ “พยายามอย่าทำให้ตัวเองให้ popular เพราะคนอื่นจะจับตามองรวมถึงจับผิดด้วย
ถ้าอยากจัดงานในพื้นที่แล้วไม่มีอุปสรรคมาขวาง วิธีง่ายๆ คือ “ลายเซ้นต์ของผู้ว่าฯ
กรณีศึกษาเรื่อง งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)
ก่อนปี 2537 คนอุบลฯ ยังไม่ค่อยรู้จัก “เจ้าคำผง” เลย วิธีการที่ใช้เพื่อให้คนรู้จัก คือ จัดพิมพ์หนังสือแจกปีละ 3,000 เล่ม ต่อเนื่อง 5 ปี (ทำไมต้องจัดพิมพ์หนังสือ เพราะหนังสือสามารถจัดเก็บได้นานกว่าสื่อชนิดอื่นๆ) ภายในงานพิธีบวงสรวงจะไม่มีการขายของ (ไม่มีการออกร้านขายของ) เพราะไม่อยากทำลายบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ ในงานอนุญาตให้คนนำหมากพลูมาถวาย …..
ความสำเร็จของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (ศูนย์ศิลป์) มาจากการพัฒนาของ ผอ. ตั้งแต่สมัยอดีต แม้ว่า ผอ. จะถูกเปลี่ยนไปหลายคนแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ นโยบายของการบริหารที่มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทำให้ไม่ขาดตอน
ข้อมูลทั่วไปของหออุบลนิทัศน์
เริ่มต้นสร้างในวันที่ 17 กันยายน 2540 และเสร็จในวันที่ 9 เมษายน 2542 ใช้งบประมาณในการสร้าง 94 ล้าน
เมื่อได้อาคารมาแล้ว โจทย์ที่ยากก็ตามมาคือ “จะเริ่มต้นจัดแสดงกันอย่างไร”
ทำไมถึงยาก : เพราะเริ่มต้นที่ไม่มีข้อมูล ไม่มีวัตถุโบราณแสดง และข้อมูลกว้างมาก
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎหลายสาขาจึงถูกแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานเพื่อการค้นคว้าข้อมูล (แต่ละคณะถูกมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลต่างกัน)
เคล็ดลับและแง่คิดก่อนที่จะเริ่มต้นค้นคว้า
- หากพูดถึงประวัติศาสตร์ ทุกคนจะรู้ว่ามันมีเรื่องที่มากมายในนั้น แต่สิ่งที่หออุบลนิทัศน์เน้น คือ เหตุการณ์ที่สำคัญในแต่ละยุคเท่านั้น ไม่ได้รวบรวมข้อมูลมาทั้งหมด
- แบ่งข้อมูลตามยุคสมัย เช่น ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ผาแต้ม), ยุคปฎิรูปการเมืองใน ร.5, ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฯลฯ
- เนื้อหาที่นำมาแสดงต้องกระชับ เข้าใจง่าย และตัวอักษรต้องใหญ่ อ่านง่าย
- การนำเสนอข้อมูลต้องอาศัยภาพประกอบ วัสดุตัวอย่าง รวมไปถึงการสร้างโมเดลประกอบ
- การแบ่งพื้นที่ในหออุบลนิทัศน์แบ่งห้องนิทรรศการออกเป็น 4 ห้องหลัก
- สร้างความมีส่วนร่วมให้คนในชุมชน จัดกิจกรรมบริจาคภาพเก่าๆ ในอดีต
- มีการใช้ไวนิลเพื่อจัดนิทรรศการครั้งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
- การจัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ และตามความสำคัญของเนื้อหา


ห้องแสดงนิทรรศการหลัก 4 ห้อง 
มีดังนี้
1. ห้องภูมิเมือง – ภูมิศาสตร์ของเมืองอุบลราชธานี สภาพทางธรณีวิทยา ภาพถ่ายจากดาวเทียม
2. ห้องภูมิราชธานี – ประวัติของเมือง เน้นไฮไลท์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ สมัยก่อตั้งเมือง สถาปนาเมือง ก่อนการปฏิรูปการปกครอง ยุคปฏิรูปการปกครอง ร.5 กรมหลวงพิชิตปรีชากร กรมหลวงสรรพสิทธิ์ เหตุการณ์สำคัญ ขบถผู้มีบุญ
3. ห้องภูมิธรรม – พระธรรมต่างๆ พระอาจารย์หลายๆ คน
4. ห้องภูมิปัญญา – ภูมิปัญญาของชาวอุบล สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารและครัวไฟ การแต่งกาย ภาษาและวรรณกรรม ดนตรีและนาฎศิลป์ มุมคนดีศรีอุบล
ข้อมูลเพื่อการติดต่อ
อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
2 ถนนแจ้งสนิท ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 0 4535 2000-29 ต่อ 1122
ปล. ข้อมูลที่สรุปมาจากการบรรยายและแผ่นพับที่อาจารย์นำมาแจกครับ
ก่อนจบอาจารย์ได้แนะนำเว็บไซต์ของ “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีhttp://www.aac.ubru.ac.th ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ไม่จบบรรณารักษ์มา แล้วอยากทำงานในห้องสมุด ไม่ยาก!!!

วันนี้จั่วหัวแปลกๆ หน่อยนะครับ
แต่อ่านแล้วรู้สึกถูกใจอย่างบอกไม่ถูก
เรื่องที่ผมนำมาเขียนวันนี้มาจาก http://www.wikihow.com/
ในหัวข้อ How to Be a Good Librarian
http://www.wikihow.com/
เว็บไซต์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเรียนรู้วิธีในการทำงานในสายต่างๆ
(เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนจบมาใหม่ๆ แล้วยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน)
เอาหล่ะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีไม่ได้หมายความว่า
“มันมาจากคุณจะเรียนแล้วได้เกรด A มาทั้งหมด” 
“คุณจะได้เกียรตินิยมในสาขานี้มาครอบครอง”
good librarian
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีต้อง :-
1. หาความรู้อยู่ตลอดเวลา
2. อ่าน อ่าน และต้องอ่าน
3. เรียนรู้จากความผิดพลาด
4. เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานและคนที่เกี่ยวข้อง
5. รู้จักผูกมิตร และมีมนุษยสัมพันธ์
เป็นไงบ้างครับ ต้อง…แบบสั้นๆ
เพียงแค่นี้ก็ทำให้คุณสามารถประกอบอาชีพนี้ได้แล้วครับ
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ ลองคิดและนำไปปรับใช้กันดูนะครับ
ภาพประกอบและบทความต้นฉบับจาก http://www.wikihow.com/Be-a-Good-Librarian

อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/05/18/good-librarian-must-do/

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้ [หนังสือ]

ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้ [หนังสือ]

ในช่วงนี้ได้ใช้บริการซื้อหนังสือจาก Amazon บ่อยขึ้น
เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ค่อนข้างหายากในท้องตลาดล่าสุดผมสั่งหนังสือไปอีก 2 เล่ม ดังนี้1. What Every Library Director Should Know2. The Public Library: A Photographic Essay
นั่นคือ What Every Library Director Should Know
หรือแปลตรงๆ ว่า “ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้
ชื่อเรื่อง : What Every Library Director Should Know
ผู้แต่ง : Curzon, Susan Carol
ISBN : 9780810891876
สำนักพิมพ์ : Rowman & Littlefield Publishers
ปีพิมพ์ : April 10, 2014
ราคา : 36.10$ (ราคาประมาณ 1,150 บาท)
แต่เนื้อหานี่สิ อยากออกว่าเข้มข้นมากๆ เลย
เอาเป็นว่าภายในหนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยดีกว่า
- การก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารและผู้ควบคุมห้องสมุด
- การบริหารความคาดหวังของหัวหน้าของคุณ
- การบริหารและสร้างความผูกพันในทีมงาน
- การบริหารการเงินและความคุ้มค่าของการลงทุน
- ชุมชนและพันธมิตร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วยเสียของห้องสมุด
- การบริหารจัดการเวลา และการดำเนินโครงการต่างๆ
- การโยกย้ายและสับเปลี่ยนตำแหน่ง
รายละเอียดผมคงต้องบอกว่า สุดยอด จริงๆ
สำหรับวันนี้ขอจบการ Review แบบย่อก่อนนะครับ


เอาเป็นว่า วันนี้ผมขอเกริ่นถึงหนังสือเล่มแรกก่อนแล้วกัน
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
review book
เล่มนี้เพิ่งออกเมื่อเดือนเมษายน 2557 นี่เอง (แบบว่าใหม่มาก)
ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งผู้บริหารห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารความคาดหวังของเจ้านาย การสร้างความผูกพันให้ลูกทีม การวางแผนกลยุทธ์ในงานต่างๆ ของห้องสมุด การจัดการเวลา และการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในห้องสมุด
ผมเองก็เพิ่งจะมาเป็นผู้บริหารห้องสมุดก็เลยจำเป็นต้องหามาอ่านให้ได้
ผมขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือมาให้ดูเป็นหัวข้อๆ ดังนี้
เอาเป็นว่านี่เป็นแค่หัวข้อใหญ่ๆ ในเล่มเท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่า ถ้าผมอ่านเสร็จเมื่อไหร่จะเอามา Review ให้เพื่อนๆ อ่านอีกที
ปล. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอ่านที่ http://www.amazon.com/gp/product/0810891875/ref=oh_details_o00_s00_i00?ie=UTF8&psc=1

อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/07/12/what-every-library-director-should-know/