วันจันทร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557

QR CODE กับงานห้องสมุดยุคใหม่

QR CODE กับงานห้องสมุดยุคใหม่

1 ใน ตัวอย่างการนำ Mobile Technology มาใช้ในห้องสมุด บรรณารักษ์ในบ้านเราหลายคนรู้จักดี คือ QR code หรือ โค้ตแบบ 2 มิติ
qr code in mobile technology for library
ก่อนอื่นต้องแนะนำให้เพื่อนๆ บางส่วนรู้จัก เจ้า QR code กันก่อน
QR code ย่อมาจาก Quick Response หรือการตอบสนองแบบรวดเร็ว เป็น code แบบ 2 มิติ ซึ่งอ่านได้จากเครื่องมือหรือ app ที่อ่าน QR code ได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นโทรศัพท์มือถือ หรือ Tablet
ข้อมูลใน QR code จะเก็บอะไรได้บ้าง
- ตัวอักษร
– ตัวเลข
QR code เป็นที่นิยมมากกว่า Barcode แบบปกติ เนื่องจากจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า และขนาดที่ไม่ใหญ่มาก นั่นเอง เช่น
“1234567890123456789012345678901234567890″
Barcode
12345678901234567890_mv0nis
QR code
12345678901234567890_mv0njg
เป็นยังไงกันบ้างครับ ดูแตกต่างอย่างสิ้นเชิงเลยหรือเปล่า
เอาหล่ะครับ รู้ที่มาแล้ว ต่อไปก็ต้องรู้ว่านำมาใช้ในห้องสมุดได้อย่างไร
- ทำให้ผู้ใช้บริการสามารถเข้าถึงเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่าย
- จะอ่าน Review ของหนังสือ หรือ ดาวน์ดหลดตัวอย่างหนังสือไปอ่านก็ทำได้
- แอด Line มาคุย หรือ ปรึกษา หรือ บริการถามตอบกับบรรณารักษ์ก็ได้
- login เข้าระบบห้องสมุดก็สามารถทำได้
- ใช้แทนบัตรสมาชิกห้องสมุดก็ทำได้
- Add fanpage ห้องสมุดก็ดีนะ
ตัวอย่างมากมายอ่านต่อที่ http://www.libsuccess.org/index.php?title=QR_Codes
ตัวอย่างการใช้ QRcode แบบแจ่มๆ จากห้องสมุดรอบโลก
- โครงการห้องสมุดเสมือน ณ สถานีรถไฟ เมือง Philadelphia
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
โครงการความร่วมมือระหว่าง SEPTA, The Free Library of Philadelphia and Dunkin’ Donuts.
ชั้นหนังสือเสมือน ไม่ต้องเปลืองเนื้องที่ แค่ติดไว้กับผนัง ผู้ใช้ก็ดาวน์โหลดหนังสือไปอ่านได้แล้ว
e-books-top-100-4x1-reverse-sort-791x1024

pbookshelf

จริงๆ ยังมีตัวอย่างอีกเพียบเลยนะครับ แล้วถ้าผมเจอไอเดียแจ่มๆ แบบนี้อีกจะนำมาแชร์ให้อ่านต่อนะครับ
เพื่อนๆ สามารถลองสร้าง barcode หรือ qr code ได้ที่http://www.barcode-generator.org/
อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2013/10/21/qr-code-in-mobile-technology-for-library/

หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

13959216_121n

หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน

มีน้องคนนึงอยากให้ผมเขียนเกี่ยวกับเรื่องห้องสมุดสำหรับผู้พิการแบบต่างๆ และให้ยกตัวอย่างในต่างประเทศ
วันนี้ผมขอแนะนำ ห้องสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตา ก่อนนะครับ
จริงๆ มีหลายประเทศที่ยกระดับเป็น “หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งชาติ” หรือ National Library for Blind

บางประเทศก็เพิ่มฟังค์ชั่นนี้ใน “หอสมุดแห่งชาติ” บางแห่งก็มีการแยกสถานที่การให้บริการออกจากกัน
ซึ่งวันนี้ผมขอแนะนำที่แรกที่เพิ่งเปิดตัวเมื่อปี 2011 นะครับ นั่นคือ “หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน
13959216_121n
หอสมุดสำหรับผู้พิการทางสายตาแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีน หรือChina’s national library for blind
เพิ่งจะมีการย้ายสถานที่อย่างเป็นทางการในปี 2011 โดยตั้งอยู่ที่กรุงปักกิ่ง บนเนื้อที่กว่า 28,000 ตารางเมตร
13959216_131n
ภายในห้องสมุดแห่งนี้ประกอบด้วยสื่อมากมายสำหรับผู้พิการทางสายตา เช่น
- หนังสืออักษรเบรลล์ (Braille) 50,000 เล่ม
- หนังสือที่มีตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าปกติ
- หนังสือเสียง (Audio-books)
13959216_161n
นอกจากนี้ยังมีการออกแบบสภาพแวดล้อมและเฟอร์นิเจอร์ให้เอื้อต่อผู้พิการทางสายตา
เช่นการออกแบบป้ายติดชั้นหนังสือด้วยอักษรเบรลล์ เส้นนำทางเดินสำหรับผู้พิการทางสายตา
เราไปชมบรรยากาศภายในห้องสมุดแห่งนี้กันครับ
- หญิงสาวคนนี้กำลังเล่นอินเทอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์เฉพาะทางอยู่
13959216_171n
- ชายหนุ่มคนนี้กำลังทำความรู้จักกับบุคคลสำคัญ ผ่านการสัมผัสหุ่นรูปปั้นและฟังข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับบุคคลสำคัญท่านนี้อยู่
13959216_181n
- การสัมผัสจะทำให้เกิดจินตนาการและสามารถสื่อสารกับผู้พิการทางสายตาได้ดี
13959216_191n
- ทางเดินภายในห้องสมุดแห่งนี้ อำนวยความสะดวกและช่วยได้มาก
13959216_211n
เอาเป็นว่านี้ก็เป็นเพียงตัวอย่างห้องสมุดแห่งนึงที่ผมรู้สึกว่า 
นี่แหละครับที่เรียกว่าการออกแบบห้องสมุดเฉพาะทาง ห้องสมุดที่มีความพิเศษ
ซึ่งหากผู้ศึกษาเกี่ยวกับวงการห้องสมุดในเมืองไทยได้ทำความเข้าใจ 
ผมเองก็อยากเห็นห้องสมุดดีๆ แบบนี้มีในสังคมไทยเช่นกัน
ที่มาของข้อมูลและภาพจาก xinhuanet.com 
อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2013/12/11/chinas-national-library-for-blind/

แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย

แนะนำมูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (BOOK FOR THAILAND FOUNDATION)

วันนี้ผมจะมาแนะนำองค์กรที่ให้การสนับสนุนห้องสมุดแห่งหนึ่ง องค์กรนี้มีชื่อว่า “มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย” 
แน่นอนครับมันต้องเกี่ยวกับเรื่องของการจัดหาหนังสือให้ห้องสมุดแน่ๆ
bookforthai
องค์กรนี้จะทำให้ห้องสมุดของคุณประหยัดค่าใช้จ่ายสำหรับหนังสือ text book ได้ส่วนหนึ่ง
เนื่องจากงค์กรนี้เป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรและทำเพื่อห้องสมุดต่างๆ ในประเทศไทย
โดยองค์กรนี้จะได้รับบริจาคหนังสือจากต่างประเทศปีละ 4-6 ครั้ง (แต่ละครั้งก็จำนวนมาก)
ห้องสมุดต่างๆ สามารถมาขอรับหนังสือ text book จากต่างประเทศ โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแต่อย่างใด
ขั้นตอนในการขอรับหนังสือจากที่นี่ก็แสนจะง่าย คือ
ทำหนังสือรับบริจาคหนังสือของสถาบันของท่านแล้วนำมายื่นที่มูลนิธิได้เลย
เสร็จแล้วก็เลือกหนังสือจากที่นี่ได้เลย แล้วทางเจ้าหน้าที่ของที่นี่จะให้เขียนสมุดผู้รับบริจาค
และนับจำนวนหนังสือ แล้วเพื่อนๆ ก็ขนหนังสือกลับได้เลย
แต่อย่าลืมส่งจดหมายขอบคุณพร้อมกับแจ้งรายชื่อหนังสือที่รับไปด้วยนะ
อ๋อ ลืมบอกไปนิดนึง เรื่องการขนหนังสือทางเราต้องจัดการเรื่องรถขนหนังสือเองนะครับ
ทางมูลนิธิไม่มีบริการส่งของด้วย
แต่สำหรับห้องสมุดที่อยู่ต่างจังหวัดก็สามารถที่จะขอทุนค่าใช้จ่ายในการเดินทางมารับหนังสือได้ด้วยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย (Book for Thailand Foundation)
สนับสนุนโครงการโดย
- กลุ่มบริษัทแสงโสม
- ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
- บจ. ท่าเรือประจวบ
- บมจ. ธนาคารกรุงศรีอยุธยา
- บมจ. ธนาคารไทยพาณิชย์
- สหวิริยาสตีลอินดัสตรี
- บจ. หลักทรัพย์จัดการกองทุน ไทยพาณิชย์
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
- สโมสรโรตารีกรุงเทพใต้
- Annika Linden Foundation
- The Asia Foundation
ที่อยู่ของมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยนะครับ
มูลนิธิหนังสือเพื่อไทย ชั้น 2 อาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน)
สาขาสภากาชาดไทย 1873 ถนนอังรีดูนังต์ แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทรศัพท์ 0-2652-3301, โทรสาร 0-2652-3302 มือถือ 0-5063-9535 
  • สำหรับเพื่อนๆ ที่มีข้อสงสัยให้ติดต่อ คุณอมร ไทรย้อย ดูนะครับ พี่เขาใจดีมากเลยครับ

ห้องสมุดของผมไปรับหนังสือมาหลายครั้งแล้วและได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดี
ยังไงก็ขอขอบคุณมูลนิธิหนังสือเพื่อไทยอีกครั้งนะครับ
เพื่อนๆ ที่อยากจะขอรับบริจาคหนังสือผมขอแนะนำว่าลองโทรไปคุยกับพี่เขาดูก่อนนะครับ
จะได้รู้ว่ามีหนังสือใหม่เข้ามาหรือยัง กลัวไปแล้วเสียเที่ยวครับ อิอิ
เห็นมั้ยว่ายังมีองค์กรดีๆ ที่สนับสนุนห้องสมุดอยู่นะครับ เพียงแต่บางคนอาจจะยังไม่รู้เท่านั้นเอง
เอาเป็นว่าใครอยากได้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องการขอทุนเดินทางมารับบริจาคหนังสือก็ลองโทรไปถามพี่เขาเองนะครับ
ลองอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2009/11/27/recommend-book-for-thailand-foundation/comment-page-1/#comment-15401

10 ห้องสมุดในกรุงเทพ ที่น่าเข้าใช้สุดๆ

Bangkok library

10 ห้องสมุดในกรุงเทพ ที่น่าเข้าใช้สุดๆ

วันนี้มีเพื่อนผมคนนึงส่งบทความนี้มาให้ (บทความในนิตยสารแจกฟรี BK)
บทความนี้พูดถึงเรื่องห้องสมุดในกรุงเทพได้น่าสนใจมาก
ในฐานะนายห้องสมุด ก็ต้องนำมาลงให้เพื่อนๆ ได้อ่านกันสักหน่อย
Bangkok library
บทความนี้ชื่อภาษาอังกฤษว่า “10 libraries to seek peace and quiet in Bangkok
หรือแปลเป็นภาษาไทย คือ 10 ห้องสมุดที่แสนสงบและเงียบในกรุงเทพฯ
ตอนแรกที่อ่านชื่อบทความ แบบว่าอึ้งมากๆ และยิ่งเปิดไปดูเนื้อหาของ 10 ห้องสมุด
ผมเองก็แปลกใจเพราะห้องสมุดที่ถูกกล่าวถึง บางแห่งก็ไม่ได้เงียบสงบจริงๆ
ห้องสมุดหลายแห่งสามารถใช้เสียงได้ ห้องสมุดหลายแห่งไม่เหมือนชื่อที่ตั้งไว้
เอาเป็นว่าเราไปดูกันครับว่า 10 แห่ง เขาพูดถึงที่ไหนบ้าง
1. ห้องสมุดเนลสันเฮย์ (Neilson Hays Library)
2. หอสมุด ปรีดี พนมยงค์ (Pridi Banomyong Library)
3. The Reading Room
4. ห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี
5. ห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร
6. หอสมุดแห่งชาติ
7. ห้องสมุดสยามสมาคม
8. อุทยานการเรียนรู้ (TK Park)
9. ห้องสมุดมารวย
10. ห้องสมุดศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC)
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ ลองไปอ่านเนื้อหาของบทความนี้ได้ที่ Link ด้านล่างเลยนะครับ
ซึ่งสำหรับผมเองไม่ได้เชียร์ห้องสมุดไหนเป็นพิเศษ แต่จริงๆ ก็ยังมีห้องสมุดอีกมากที่น่าสนใจ
เช่น ห้องสมุดการ์ตูน ห้องสมุดสีเขียว ห้องสมุดซอยพระนาง …… ฯลฯ
ถึงตอนนี้แล้วเพื่อนๆ คงไม่คิดว่า กรุงเทพฯ จะเป็นเมืองที่มีห้างเยอะอย่างเดียวใช่มั้ยครับ
บางห้องสมุดผมเคยเขียนถึงแล้ว เพื่อนๆ สามารถตามอ่านได้จาก
- การศึกษาดูงาน ณ ห้องสมุดเนลสันเฮย์ (Neilson Hays Library)
http://www.libraryhub.in.th/2011/08/16/library-tour-at-neilson-hays-library/
- นายห้องสมุดพาชมห้องสมุดเพื่อการเรียนรู้สวนลุมพินี
http://www.libraryhub.in.th/2012/01/05/libraryhub-on-tour-at-lumpini-discovery-learning-library/
- แวะมาชมห้องสมุดศิลปวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร
http://www.libraryhub.in.th/2010/12/25/tour-art-library-at-bacc/
- หอสมุดแห่งชาติกับภาพลักษณ์ใหม่ๆ
http://www.libraryhub.in.th/2009/05/30/new-look-at-national-library-thailand/
ที่มาของบทความนี้ : 10 libraries to seek peace and quiet in Bangkok 
อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/04/09/10-libraries-cool-in-bangkok/

3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด


3 ความจริงจากประสบการณ์ของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุด

บทความใน Lisnews ที่ผมนำมาแปลและถ่ายทอดวันนี้
อาจเป็นเพียงแค่ความคิดของนักออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเพียง 1 คน
ความคิดที่เขาถ่ายทอดออกมา มันโดนใจผมและทำให้ผมยอมรับได้ว่าจริง
เรื่องของการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดและการทำเว็บไซต์ห้องสมุดดีๆ
มีหลายคนชอบถามผมว่า “ต้องเป็นแบบไหน” “ต้องมีอะไร” “ต้องทำอะไรได้บ้าง”
ผมจึงตัดสินใจนำแนวคิดของผู้มีประสบการณ์กว่า 15 ปี มาแปล/เรียบเรียงให้อ่าน
design library website
ก่อนอื่นต้องแนะนำผู้ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดท่านนี้ให้เพื่อนๆ รู้จักก่อน
22952_569610961_4266_n
นั่นคือ คุณ Laura Solomon ตำแหน่งปัจจุบันคือ Library Services Manager ของ เครือข่ายห้องสมุดประชาชนรัฐโอไฮโอ
คุณ Laura Solomon ได้เขียนบทความ “3 truths about your library’s website” เป็นการถ่ายทอดแนวคิดจากประสบการณ์ของเธอเอง
15 ปีที่ออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดให้หลายๆ แห่ง เธอพบว่า
1) เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเป็นตัวตนสูง
การออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดเป็นเรื่องที่ต้องทำความเข้าใจกันทั้งเจ้าหน้าที่ห้องสมุด นักออกแบบเว็บไซต์ และผู้บริหารห้องสมุด มุมมองทุกคนต้องไปในทิศทางเดียวกันก่อนจะเริ่มการออกแบบ
บางครั้งการไปดูเว็บไซต์อื่นๆ แล้วชอบ ก็ไม่ได้หมายความว่า เว็บไซต์ห้องสมุดจะต้องออกแบบมาตามนั้นแล้วจะทำให้คนอื่นชอบด้วยเหมือนเรา ต้องบอกตรงๆ ครับ ว่า “ไม่เหมือนกัน”
2) ไม่มีใครใช้ฟังค์ชั่นต่างๆ มากมาย (นอกจากบรรณารักษ์)
ตอนออกแบบทุกคนพยายามยัดฟีเจอร์หรือฟังค์ชั่นต่างๆ มากมายลงในเว็บไซต์ห้องสมุด เช่น Pathfinder / Subject Guide / รายการหนังสือ / จุดเชื่อมโยงไปสู่เว็บไซต์อื่นๆ ฯลฯ
ซึ่งออกแบบไว้เยอะมาก แต่ความเป็นจริงแล้วจากการดูตัวชี้วัดการเข้าใช้ห้องสมุด จาก เครื่องมือต่างๆ เช่น Google analytics… ผู้ใช้บริการใช้เพียงแค่
– ต้องการเข้าถึงบัญชีของพวกเขาเอง (ทำรายการ ดูประวัติ….)
– ค้นหาหนังสือและสื่อ
– ดูเบอร์โทรศัพท์ และที่อยู่ของห้องสมุด
– ข้อมูลกิจกรรม หรือ โปรแกรมต่างๆ ที่ห้องสมุดจัด
บางครั้งความคาดหวังของคนที่ทำงาน กับ ความคาดหวังของผู้ใช้บริการมันก็แตกต่างกันอยู่ เราอาจมองถึงเรื่องต้องการบริการให้ดีที่สุด แต่ผู้ใช้บริการต้องการเพียงแค่ใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่งเท่านั้น การลงทุนอาจไม่คุ้มค่าเหมือนที่คิด
3) สุดท้ายคุณก็จะเกลียดมันในที่สุด
แนวโน้มการออกแบบมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา วันนี้ชอบ พรุ่งนี้อาจไม่ชอบ คิดง่ายๆ ครับ ในอดีตการออกแบบเว็บไซต์แค่เรื่องภาพ background ก็เป็นประเด็นแล้ว พอเปลี่ยนเป็นยุค Java ก็อีกแบบหนึ่ง มายุค Flash ก็มีเรื่อง ตอนนี้ไหนจะ Responsive อนาคตยังไม่รู้ครับว่าแนวโน้มจะเป็นอย่างไรต่อไป คุณก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลงตามด้วย เว็บไซต์ห้องสมุดออกแบบวันนี้ใช่ว่าจะต้องใช้มันตลอดชีวิต สักวันมันต้องมีการเปลี่ยนแปลง ปรับปรุง และพัฒนาต่อไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ครับ
เอาเป็นว่าเพื่อนๆ คงมองเรื่องการออกแบบเว็บไซต์ห้องสมุดได้ง่ายขึ้นนะครับ
สรุปง่ายๆ ว่า เว็บไซต์ห้องสมุดมีความเฉพาะทาง ออกแบบเท่าที่จำเป็น และต้องพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เท่านี้แหละครับ
บทความต้นฉบับ
http://www.meanlaura.com/archives/5833

อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/05/13/3-truth-from-library-website-designer/

วันจันทร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2557

บล็อก (BLOG)  คืออะไร

       บล็อกมาจากการผสมคำระหว่าง  WEB ( Wolrd Wide Web) +LOG (บันทึก)  = BLOG คือ เว็บไซต์ที่เจ้าของหรือ Bloggerสามารถบันทึกเรื่องราวของตนเองลงในเว็บได้ตลอดเวลา  การสร้างเว็บบล็อกสามารถทำได้ง่ายๆ ด้วยตัวเอง ไม่ซับซ้อน ไม่เสียสตางค์ ไม่จำเป็นต้องรู้ภาษา HTML อย่างน้อยขอให้มีความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับอินเทอร์เน็ตและเว็บไซต์

       ภายในเว็บบล็อก จะมีระบบบริหารจัดการเว็บไซต์พื้นฐานให้แล้ว โดยการสร้างเครื่องมือสำหรับ เขียนเรื่อง โพสรูป จัดหมวดหมู่  และลูกเล่นอื่นๆ ที่ผู้จัดทำพยายามสร้างเพื่อดึงดูดผู้คนจากทั่วโลก ให้เข้าไปใช้บริการ เสน่ห์ของบล็อกอยู่ที่ผู้อ่านและผู้เขียนสามารถโต้ตอบกันได้ (Interactive)โดยการแสดงความคิดเห็นต่อท้ายที่เรื่องนั้นๆ
         บางคนมองว่าการเขียนบล็อก ก็คือการเขียนไดอารี่ออนไลน์ แท้ที่จริง ไดอารี่ เป็นเพียงส่วนหนึ่งของบล็อกเท่านั้น          คุณเปิดบล็อกขึ้นมาไม่ใช่เพื่อเขียนเรื่องราวในชีวิตประจำวันอย่างเดียว แต่สามารถใส่ความรู้ ประสบการณ์ เพื่อเป็นวิทยาทานให้คนอื่นๆเช่น คุณหมอ เปิดบล็อกแนะนำเรื่องสุขภาพ เป็นต้น
บล็อก คือ สื่อใหม่ (New Media) เป็นปรากฎการณ์ที่เปลี่ยนรูปแบบการสื่อสารในอดีตอย่างสิ้นเชิง คนเขียนบล็อก          สามารถทำหน้าที่เป็นสื่อด้วยตัวเอง ไม่ต้องพึ่งสื่อสารมวลชน เขาสามารถสื่อสารกันเองในกลุ่มเล็กๆ หรือกลุ่มใหญ่ก็ได้ ถ้าเรื่องไหน เป็นที่ถูกใจของชาวบล็อก ชาวเน็ต คนๆ นั้น อาจจะดังได้เพียงชั่วข้ามคืน โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยสื่อหลักช่วยเลย

           ลักษณะของสื่อใหม่
            กลุ่มผู้รับสารจะมีขนาดเล็ก
  • มีลักษณะเป็น Interactive
  • ผู้ส่งสาอาจไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องรายได้ มีแรงจูงใจด้านอื่น เช่น ความมีชื่อเสียง, ความชอบส่วนตัว
  • เป็นการสื่อสารแบบเปิด ผู้รับ ผู้ส่ง มีความเท่าเทียมกัน
  • เกิดความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ หลากหลาย
 อ้างอิง http://www.oknation.net/blog/manual/2006/12/22/entry-4