วันอังคารที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2557

อยากนอนในห้องสมุดนักใช่มั้ย ไปนอนในโรงแรมห้องสมุดกันเถอะ

หลายๆ ครั้งที่ผมพูดเรื่องห้องสมุดกับเพื่อนๆ
เพื่อนๆ หลายคนก็มักจะบอกว่า “เป็นสถานที่ที่ทำให้รู้สึกง่วงนอนขึ้นมาโดยทันที
วันนี้ผมจึงขอแนะนำสถานที่ที่มีไว้สำหรับนอนและพักผ่อน นั่นก็คือ “โรงแรม” นั่นเอง
hotel Library
แต่ “โรงแรม” ที่ผมจะนำมาโพสให้เพื่อนๆ ชมในวันนี้
เป็น “โรงแรม” + “ห้องสมุด” หรือ นำกลิ่นไอความเป็นห้องสมุดมาใส่ในโรงแรม นั่นแหละ
ข้อมูลนี้ผมอ่านมาจากบล็อก http://www.huffingtonpost.com/
ซึ่งเขียนเรื่อง “9 Hotel Libraries (And Library Hotels) That Bring Books To Life
ความน่าสนใจของโรงแรมที่นำความเป็นห้องสมุดมาใส่แบบนี้
ผมว่ามันได้บรรยากาศที่เหมือนเรามีห้องหนังสือ หรือ ห้องสมุดส่วนตัวในบ้านได้เลยครับ
ยิ่งไปกว่านั้น หนึ่งในโรงแรม 9 แห่งนี้มี The Library ของประเทศไทยติดอยู่ในนั้นด้วย
เราไปชมกันเลยดีกว่าว่า “โรงแรมห้องสมุด” ทั้ง 9 แห่ง มีดังนี้
1.Casa Palopo, ประเทศกัวเตมาลา - http://www.casapalopo.com/
Casa Palopo
2.The Library, เกาะสมุย ประเทศไทย - http://www.thelibrary.co.th
The Library resort at Hat Chaweng.
3.Gladstone’s Library, ประเทศอังกฤษ - http://www.gladstoneslibrary.org/
Gladstone's Library
4.Sandton Kura Hulanda Lodge & Beach Club, คูราเซา - http://www.kurahulanda.com/index.php
Sandton Kura Hulanda
5.The Royal Livingstone Hotel, ประเทศแซมเบีย - http://www.suninternational.com/fallsresort/royal-livingstone/Pages/default.aspx
The Royal Livingstone Hotel
6.The Resort at Longboat Key Club, รัฐฟลอริดา - http://www.longboatkeyclub.com/
Longboat Key Club
DSC_0504
8.JW Marriott Cusco, ประเทศเปรู - http://www.marriott.com/hotels/travel/cuzmc-jw-marriott-hotel-cusco/
JW Marriott Cusco
9.The Library Hotel, รัฐนิวยอร์ก - http://www.libraryhotel.com/
The Library Hotel
เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีกเรื่องราวหนึ่งที่วงการธุรกิจสนใจเรื่องราวเกี่ยวกับห้องสมุด
แล้วเพื่อนๆ หล่ะคิดยังไง [ส่วนตัวผมเองพออ่านจบแล้วทำให้อยากไปลองพักสักที่เลย]
ที่มาของเรื่องนี้จาก http://www.huffingtonpost.com/2013/10/18/hotel-libraries_n_3953755.html

วันอังคารที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2557

นำเสนอสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ

นำเสนอข้อมูลสารสนเทศท้องถิ่นอย่างไรไม่ให้น่าเบื่อ
โดย อาจารย์ ดร. กิติรัตน์ สีหบัณฑ์ ผู้อำนวยการสำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
เมื่อเราได้สารสนเทศท้องถิ่นมาแล้ว เราก็ต้องรู้จักการนำเสนอข้อมูลให้น่าสนใจ
อาจารย์จึงได้นำเสนอกรณีศึกษาของ “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี” ซึ่งสรุปได้ดังนี้
เริ่มต้นจากการแนะนำตัวเองเช่นกัน และเล่าที่มาก่อนที่จะมาได้รับตำแหน่ง ผอ. ที่นี่
ซึ่งต้องผ่านกระบวนการของการสรรหาของ มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี (ต้องแสดงวิสัยทัศน์)
งานหลักที่ดูแลอยู่ในตอนนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ
1. งานบริหารด้านวิชาการ
2. งานบริการความรู้สู่ชุมชน
อาจารย์ชอบทำงานอยู่เป็นเบื้องหลัง ซึ่งงานระดับจังหวัดหลายๆ งานก็มักจะเข้ามาขอความร่วมมือจากสำนักศิลปะและวัฒนธรรม
ตัวอย่างงานระดับจังหวัด เช่น งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง) เป็นต้น
ข้อคิดของการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ คือ “พยายามอย่าทำให้ตัวเองให้ popular เพราะคนอื่นจะจับตามองรวมถึงจับผิดด้วย
ถ้าอยากจัดงานในพื้นที่แล้วไม่มีอุปสรรคมาขวาง วิธีง่ายๆ คือ “ลายเซ้นต์ของผู้ว่าฯ
กรณีศึกษาเรื่อง งานพิธีบวงสรวงและสดุดีวีรกรรมพระปทุมวรราชสุริยวงษ์ (เจ้าคำผง)
ก่อนปี 2537 คนอุบลฯ ยังไม่ค่อยรู้จัก “เจ้าคำผง” เลย วิธีการที่ใช้เพื่อให้คนรู้จัก คือ จัดพิมพ์หนังสือแจกปีละ 3,000 เล่ม ต่อเนื่อง 5 ปี (ทำไมต้องจัดพิมพ์หนังสือ เพราะหนังสือสามารถจัดเก็บได้นานกว่าสื่อชนิดอื่นๆ) ภายในงานพิธีบวงสรวงจะไม่มีการขายของ (ไม่มีการออกร้านขายของ) เพราะไม่อยากทำลายบรรยากาศอันศักดิ์สิทธิ์ ในงานอนุญาตให้คนนำหมากพลูมาถวาย …..
ความสำเร็จของสำนักศิลปะและวัฒนธรรม (ศูนย์ศิลป์) มาจากการพัฒนาของ ผอ. ตั้งแต่สมัยอดีต แม้ว่า ผอ. จะถูกเปลี่ยนไปหลายคนแล้ว แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่เปลี่ยน คือ นโยบายของการบริหารที่มีการพัฒนางานอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นทำให้ไม่ขาดตอน
ข้อมูลทั่วไปของหออุบลนิทัศน์
เริ่มต้นสร้างในวันที่ 17 กันยายน 2540 และเสร็จในวันที่ 9 เมษายน 2542 ใช้งบประมาณในการสร้าง 94 ล้าน
เมื่อได้อาคารมาแล้ว โจทย์ที่ยากก็ตามมาคือ “จะเริ่มต้นจัดแสดงกันอย่างไร”
ทำไมถึงยาก : เพราะเริ่มต้นที่ไม่มีข้อมูล ไม่มีวัตถุโบราณแสดง และข้อมูลกว้างมาก
อาจารย์ในมหาวิทยาลัยราชภัฎหลายสาขาจึงถูกแต่งตั้งให้เป็นคณะทำงานเพื่อการค้นคว้าข้อมูล (แต่ละคณะถูกมอบหมายให้ค้นหาข้อมูลต่างกัน)
เคล็ดลับและแง่คิดก่อนที่จะเริ่มต้นค้นคว้า
- หากพูดถึงประวัติศาสตร์ ทุกคนจะรู้ว่ามันมีเรื่องที่มากมายในนั้น แต่สิ่งที่หออุบลนิทัศน์เน้น คือ เหตุการณ์ที่สำคัญในแต่ละยุคเท่านั้น ไม่ได้รวบรวมข้อมูลมาทั้งหมด
- แบ่งข้อมูลตามยุคสมัย เช่น ยุคก่อนประวัติศาสตร์ (ผาแต้ม), ยุคปฎิรูปการเมืองใน ร.5, ยุคเปลี่ยนแปลงการปกครอง ฯลฯ
- เนื้อหาที่นำมาแสดงต้องกระชับ เข้าใจง่าย และตัวอักษรต้องใหญ่ อ่านง่าย
- การนำเสนอข้อมูลต้องอาศัยภาพประกอบ วัสดุตัวอย่าง รวมไปถึงการสร้างโมเดลประกอบ
- การแบ่งพื้นที่ในหออุบลนิทัศน์แบ่งห้องนิทรรศการออกเป็น 4 ห้องหลัก
- สร้างความมีส่วนร่วมให้คนในชุมชน จัดกิจกรรมบริจาคภาพเก่าๆ ในอดีต
- มีการใช้ไวนิลเพื่อจัดนิทรรศการครั้งแรกของจังหวัดอุบลราชธานี
- การจัดลำดับความสำคัญของเหตุการณ์ และตามความสำคัญของเนื้อหา


ห้องแสดงนิทรรศการหลัก 4 ห้อง 
มีดังนี้
1. ห้องภูมิเมือง – ภูมิศาสตร์ของเมืองอุบลราชธานี สภาพทางธรณีวิทยา ภาพถ่ายจากดาวเทียม
2. ห้องภูมิราชธานี – ประวัติของเมือง เน้นไฮไลท์ ยุคก่อนประวัติศาสตร์ ยุคประวัติศาสตร์ สมัยก่อตั้งเมือง สถาปนาเมือง ก่อนการปฏิรูปการปกครอง ยุคปฏิรูปการปกครอง ร.5 กรมหลวงพิชิตปรีชากร กรมหลวงสรรพสิทธิ์ เหตุการณ์สำคัญ ขบถผู้มีบุญ
3. ห้องภูมิธรรม – พระธรรมต่างๆ พระอาจารย์หลายๆ คน
4. ห้องภูมิปัญญา – ภูมิปัญญาของชาวอุบล สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารและครัวไฟ การแต่งกาย ภาษาและวรรณกรรม ดนตรีและนาฎศิลป์ มุมคนดีศรีอุบล
ข้อมูลเพื่อการติดต่อ
อาคารศูนย์ศิลปวัฒนธรรมกาญจนาภิเษก สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี
2 ถนนแจ้งสนิท ต.ในเมือง อ.เมือง จ.อุบลราชธานี 34000
โทรศัพท์ 0 4535 2000-29 ต่อ 1122
ปล. ข้อมูลที่สรุปมาจากการบรรยายและแผ่นพับที่อาจารย์นำมาแจกครับ
ก่อนจบอาจารย์ได้แนะนำเว็บไซต์ของ “สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานีhttp://www.aac.ubru.ac.th ซึ่งเพื่อนๆ สามารถเข้าชมรายละเอียดเพิ่มเติมได้

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

ไม่จบบรรณารักษ์มา แล้วอยากทำงานในห้องสมุด ไม่ยาก!!!

วันนี้จั่วหัวแปลกๆ หน่อยนะครับ
แต่อ่านแล้วรู้สึกถูกใจอย่างบอกไม่ถูก
เรื่องที่ผมนำมาเขียนวันนี้มาจาก http://www.wikihow.com/
ในหัวข้อ How to Be a Good Librarian
http://www.wikihow.com/
เว็บไซต์นี้ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อเรียนรู้วิธีในการทำงานในสายต่างๆ
(เหมาะสำหรับผู้ที่เรียนจบมาใหม่ๆ แล้วยังไม่มีประสบการณ์ในการทำงาน)
เอาหล่ะ มาเข้าเรื่องกันดีกว่า
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีไม่ได้หมายความว่า
“มันมาจากคุณจะเรียนแล้วได้เกรด A มาทั้งหมด” 
“คุณจะได้เกียรตินิยมในสาขานี้มาครอบครอง”
good librarian
การเป็นบรรณารักษ์ที่ดีต้อง :-
1. หาความรู้อยู่ตลอดเวลา
2. อ่าน อ่าน และต้องอ่าน
3. เรียนรู้จากความผิดพลาด
4. เรียนรู้จากเพื่อนร่วมงานและคนที่เกี่ยวข้อง
5. รู้จักผูกมิตร และมีมนุษยสัมพันธ์
เป็นไงบ้างครับ ต้อง…แบบสั้นๆ
เพียงแค่นี้ก็ทำให้คุณสามารถประกอบอาชีพนี้ได้แล้วครับ
เอาเป็นว่าขอให้เพื่อนๆ ลองคิดและนำไปปรับใช้กันดูนะครับ
ภาพประกอบและบทความต้นฉบับจาก http://www.wikihow.com/Be-a-Good-Librarian

อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/05/18/good-librarian-must-do/

วันจันทร์ที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2557

ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้ [หนังสือ]

ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้ [หนังสือ]

ในช่วงนี้ได้ใช้บริการซื้อหนังสือจาก Amazon บ่อยขึ้น
เนื่องจากหนังสือที่เกี่ยวกับวงการห้องสมุดและบรรณารักษ์ค่อนข้างหายากในท้องตลาดล่าสุดผมสั่งหนังสือไปอีก 2 เล่ม ดังนี้1. What Every Library Director Should Know2. The Public Library: A Photographic Essay
นั่นคือ What Every Library Director Should Know
หรือแปลตรงๆ ว่า “ทุกอย่างที่ผู้บริหารห้องสมุดควรรู้
ชื่อเรื่อง : What Every Library Director Should Know
ผู้แต่ง : Curzon, Susan Carol
ISBN : 9780810891876
สำนักพิมพ์ : Rowman & Littlefield Publishers
ปีพิมพ์ : April 10, 2014
ราคา : 36.10$ (ราคาประมาณ 1,150 บาท)
แต่เนื้อหานี่สิ อยากออกว่าเข้มข้นมากๆ เลย
เอาเป็นว่าภายในหนังสือเล่มนี้มีอะไรบ้าง เรามาดูกันเลยดีกว่า
- การก้าวขึ้นมาเป็นผู้บริหารและผู้ควบคุมห้องสมุด
- การบริหารความคาดหวังของหัวหน้าของคุณ
- การบริหารและสร้างความผูกพันในทีมงาน
- การบริหารการเงินและความคุ้มค่าของการลงทุน
- ชุมชนและพันธมิตร รวมถึงผู้มีส่วนได้ส่วยเสียของห้องสมุด
- การบริหารจัดการเวลา และการดำเนินโครงการต่างๆ
- การโยกย้ายและสับเปลี่ยนตำแหน่ง
รายละเอียดผมคงต้องบอกว่า สุดยอด จริงๆ
สำหรับวันนี้ขอจบการ Review แบบย่อก่อนนะครับ


เอาเป็นว่า วันนี้ผมขอเกริ่นถึงหนังสือเล่มแรกก่อนแล้วกัน
ข้อมูลทั่วไปของหนังสือเล่มนี้
review book
เล่มนี้เพิ่งออกเมื่อเดือนเมษายน 2557 นี่เอง (แบบว่าใหม่มาก)
ทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งผู้บริหารห้องสมุด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการบริหารความคาดหวังของเจ้านาย การสร้างความผูกพันให้ลูกทีม การวางแผนกลยุทธ์ในงานต่างๆ ของห้องสมุด การจัดการเวลา และการโยกย้ายตำแหน่งต่างๆ ในห้องสมุด
ผมเองก็เพิ่งจะมาเป็นผู้บริหารห้องสมุดก็เลยจำเป็นต้องหามาอ่านให้ได้
ผมขอสรุปเนื้อหาจากหนังสือมาให้ดูเป็นหัวข้อๆ ดังนี้
เอาเป็นว่านี่เป็นแค่หัวข้อใหญ่ๆ ในเล่มเท่านั้นนะครับ
เอาเป็นว่า ถ้าผมอ่านเสร็จเมื่อไหร่จะเอามา Review ให้เพื่อนๆ อ่านอีกที
ปล. ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมอ่านที่ http://www.amazon.com/gp/product/0810891875/ref=oh_details_o00_s00_i00?ie=UTF8&psc=1

อ้างอิง http://www.libraryhub.in.th/2014/07/12/what-every-library-director-should-know/